หน้าเว็บ

หลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม


องค์หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 4 ศอก 2 นิ้วเศษ สูง 4 ศอก 16 นิ้วเศษ ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี 5 ชั้น เบื้องหน้ามีผ้าทิพย์ปูทอดลงมา
องค์หลวงพ่อวัดไร่ขิง ประดิษฐานเป็นพระประธาน อยู่ภายในอุโบสถ หันพระพักตร์ไปทางทิศอุดร (ทิศเหนือ) ซึ่งหน้าวัดมีแม่น้ำนครชัยศรี หรือแม่น้ำท่าจีน ไหลผ่าน 
จากหนังสือประวัติของวัดไร่ขิงได้กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) ได้อัญเชิญมาจากวัดศาลาปูน โดยนำล่องมาทางน้ำ ด้วยการทำแพไม้ไผ่ หรือที่เรียกกันว่าแพลูกบวบ รองรับองค์พระปฏิมากร เมื่อถึงหน้าวัดไร่ขิงจึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ ภายในอุโบสถ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งเป็นวันสงกรานต์พอดี จึงมีประชาชนจำนวนมากมาชุมนุมกัน 
ในขณะที่อัญเชิญองค์หลวงพ่อขึ้นจากแพ สู่ปะรำพิธีได้เกิดอัศจรรย์แสงแดดที่แผดจ้า กลับพลันหายไป ความร้อนระอุในวันสงกรานต์ก็บังเกิดมีเมฆดำมืดทะมึน ลมปั่นป่วน ฟ้าคะนอง และบันดาลให้มีฝนโปรยลงมา ทำให้เกิดความเย็นฉ่ำ และเกิดความปิติยินดี กันโดยทั่วหน้า
ประชาชนที่มาต่างก็พากันตั้งจิตอธิษฐานเป็นหนึ่งเดียวกัน ว่า “หลวงพ่อ จะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ดับความร้อนร้ายคลายความทุกข์ให้หมดไป ดุจสายฝนที่เมทนีดลให้ชุ่มฉ่ำ เจริญงอกงามด้วยธัญญาหารฉันนั้น” ดังนั้น วันดังกล่าวที่ตรงกับวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของคนไทย ทางวัดจึงได้ถือเป็นวันสำคัญ และได้จัดให้มีงานเทศกาลนมัสการปิดทองประจำปีหลวงพ่อวัดไร่ขิง สืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ตำนานหลวงพ่อวัดไร่ขิงนั้น จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมา หรือที่เรียกว่า "มุขปาฐะ" มีหลายตำนาน ดังนี้
  • ตำนานที่ 1 ครั้งเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์(พุก)ชาวเมืองนครชัยศรี ได้มาตรวจเยี่ยมวัดในเขตอำเภอสามพราน ได้เข้าไปในพระอุโบสถวัดไร่ขิง หลังจากกราบพระประธานแล้ว มีความเห็นว่าพระประธานมีขนาดเล็กเกินไป จึงบอกให้ท่านเจ้าอาวาสพร้อมชาวบ้านไปอัญเชิญมาจากวัดศาลาปูนฯ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยวางลงบนแบบไม้ไผ่และนำล่องมาตามลำน้ำและอัญเชิญขึ้นประดิษฐานในพระอุโบสถ ตรงกับวันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 วันสงกรานต์พอดี
  • ตำนานที่ 2 วัดไร่ขิงสร้างเมื่อปีกุน พุทธศักราช 2394 ตรงกับปีสุดท้ายในรัชกาลที่ 3 ต้นปี ในรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) ซึ่งเป็นชาวเมืองนครชัยศรี ในขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะที่ "พระธรรมราชานุวัตร" ปกครองอยู่ที่วัดศาลาปูนวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้กลับมาสร้างวัดที่บ้านเกิดของตนที่ไร่ขิง เมื่อสร้างพระอุโบสถเสร็จแล้วจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งจากกรุงเก่า ( จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ) มาเพื่อประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ แต่การสร้างยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ ท่านได้มรณภาพเสียก่อน ส่วนงานที่เหลืออยู่พระธรรมราชานุวัตร(อาจ จนฺทโชโต) หลานชายของท่านจึงดำเนินงานต่อจนเรียบร้อย และบูรณะดูแลมาโดยตลอดจนถึงแก่มรณภาพ
ตำนานที่ 3 ตามตำนานเป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับมีพระพุทธรูปลอยน้ำมา 5 องค์ก็มี 3 องค์ก็มี โดยเฉพาะในเรื่องที่เล่าว่ามี 5 องค์นั้น ตรงกับคำว่า " ปัญจภาคี ปาฏิหาริยกสินธุ์โน " ซึ่งได้มีการเล่าเป็นนิทานว่า ในกาลครั้งหนึ่ง มีพี่น้องชาวเมืองเหนือ 5 คน ได้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาจนสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล ชั้นโสดาบัน มีฤทธิ์อำนาจทางจิตมาก ได้พร้อมใจกันตั้งสัตย์อธิษฐานว่า เกิดมาชาตินี้จะขอบำเพ็ญบารมีช่วยให้สัตว์โลกได้พ้นทุกข์ แม้จะตายไปแล้ว ก็จะขอสร้างบารมีช่วยสัตว์โลกให้ได้พ้นทุกข์ต่อไปจนกว่าจะถึงพระนิพพาน ครั้นพระอริยบุคคลทั้ง 5 องค์ ได้ดับขันธ์ไปแล้ว ก็เข้าไปสถิตในพระพุทธรูปทั้ง 5 องค์ จะมีความปรารถนาที่จะช่วยคนทางเมืองใต้ที่อยู่ติดแม่น้ำให้ได้พ้นทุกข์ จึงได้พากันลอยน้ำลงมาตามลำน้ำทั้ง 5 สาย เมื่อชาวบ้านตามเมืองที่อยู่ริมแม่น้ำเห็นเข้า จึงได้อัญเชิญและประดิษฐานไว้ตามวัดต่างๆ มีดังนี้
  • พระพุทธรูปองค์ที่ 1 ลอยไปตามแม่น้ำบางปะกง ขึ้นสถิตที่วัดโสธรวรวิหาร เมืองแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียกกันว่า "หลวงพ่อโสธร"
  • พระพุทธรูปองค์ที่ 2 ลอยไปตามแม่น้ำนครชัยศรี (ท่าจีน)ขึ้นสถิตที่วัดไร่ขิงเมืองนครชัยศรี เรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง"
  • พระพุทธรูปองค์ที่ 3 ลอยไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นสถิตที่วัดบางพลี เรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดบางพลี" แต่บางตำนานก็ว่า หลวงพ่อวัดบางพลีเป็นองค์แรกในจำนวน 5 องค์ จึงเรียกว่า "หลวงพ่อโตวัดบางพลี "
  • พระพุทธรูปองค์ที่ 4 ลอยไปตามแม่น้ำแม่กลอง ขึ้นสถิตที่วัดบ้านแหลม เมืองแม่กลอง เรียกว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม"
  • พระพุทธรูปองค์ที่ 5 ลอยไปตามแม่น้ำเพชรบุรี ขึ้นสถิตที่วัดเขาตะเครา เมืองเพชรบุรี เรียกว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา"
ส่วนตำนานของเมืองนครปฐมนั้นเล่าว่า มีพระ 3 องค์ ลอยน้ำมาพร้อมกัน และแสดงปาฏิหาริย์จะเข้าไปยังบ้านศรีมหาโพธิ์ ซึ่งมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ จึงได้เรียกตำบลนั้นว่า "บางพระ" พระพุทธรูป 3 องค์ลอยไปจนถึงปากน้ำท่าจีนแล้วกลับลอยทวนน้ำขึ้นมาใหม่ จึงเรียกตำบลนั้นว่า "สามประทวน" หรือ "สัมปทวน"
แต่เนื่องจากตำบลที่ชาวบ้านพากันไปชักพระขึ้นฝั่งเพื่อขึ้นประดิษฐาน ณ หมู่บ้านของตน แต่ทำไม่สำเร็จ ต้องเปียกฝนและตากแดดตากลมจึงได้ชื่อว่า "บ้านลานตากฟ้า" และ "บ้านตากแดด" ในที่สุดพระพุทธรูปองค์แรกจึงยอมสถิต ณ วัดไร่ขิงเรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง" ส่วนองค์ที่ 2 ลอยน้ำไปแล้วสถิตขึ้นที่วัดบ้านแหลมจังหวัดสมุทรสงคราม เรียกว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม" และองค์ที่ 3 ลอยตามน้ำไปตามจังหวัดเพชรบุรี แล้วขึ้นสถิตที่วัดเขาตะเครา เรียกว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา"
วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำท่าจีนหรือเรียกอีกชื่อว่าแม่น้ำนครชัยศรี ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย สร้างโดย "สมเด็จพระพุทธฒาจารย์ (พุก)" มีหลวงพ่อวัดไร่ขิงซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นพระประธาน ที่ชาวนครปฐมเคารพนับถือ ระหว่างวันขึ้น 13 ค่ำ ถึงแรม 3 ค่ำ เดือน 5 และช่วงเทศการตรุษจีนทุกปีจะมีงานเทศกาลนมัสการปิดทองหลวงพ่อวัดไร่ขิงประจำปี ซึ่งเป็นงานใหญ่ของชาวนครปฐม เดิมเป็นวัดราษฏร์ ต่อมาจึงยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2533
วัดไร่ขิง พระอารามหลวง หรือ วัดมงคลจินดาราม ตั้งอยู่ที่อำเภอสามพรานห่างจากกรุงเทพฯ 32 กม. มีทางเข้า 3 ทาง คือ ทางแยกหน้าสถานีตำรวจโพธิ์แก้ว ทางแยกหน้าสวนสามพราน และทางแยกพุทธมณฑลสาย 5 วัดไร่ขิง เป็นวัดราษฎร์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2334 โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) เรียกชื่อวัดตามชื่อตำบล เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ได้อัญเชิญพระพุทธรูปจากวัดศาลาปูนมาประดิษฐานไว้ที่วัดไร่ขิงด้วย ปัจจุบันชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อวัดไร่ขิง
วัดไร่ขิง พระอารามหลวง เป็นวัดที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันดี นิยมเดินทางไปนมัสการหลวงพ่อวัดไร่ขิงกันอยู่เสมอ ทุกวันอาทิตย์จะมีตลาดนัดอาหารและผลไม้จำหน่ายหน้าวัด และที่บริเวณริมแม่น้ำหน้าโบสถ์จะมีชาวสวนพายเรือนำพืชผักผลไม้มาจำหน่าย และบริเวณริมแม่น้ำหน้าโบสถ์นี้เป็นเขตอภัยทาน ร่มรื่น มีปลาสวายตัวโตนับพันอาศัยอยู่ นักท่องเที่ยวสามารถซื้อขนมปังเลี้ยงปลาได้ และยังมีก๋วยเตี๋ยวเรือ (หมู) รสเลิศขายทุกวัน
นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ของเก่า รวบรวมของเก่าเช่นถ้วยชาม หนังสือเก่า ซึ่งชาวบ้านนำมาถวายวัดจัดแสดงไว้ มีบ้านดินอินทณัฐซึ่งสร้างจากดินเหนียวซึ่งภายในเล่าถึงพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า มีบ่อปลาคาร์ฟให้ผู้ที่มาทำบุญได้ให้อาหารด้วยขวดนม มีจุดพักผ่อนหย่อนใจที่สวยงาม และในระหว่างวันขึ้น 13 ค่ำ ถึงแรม 3 ค่ำเดือน 5 ของทุกปี ทางวัดไร่ขิงจะจัดงานนมัสการหลวงพ่อวัดไร่ขิงขึ้น มีการออกร้านและมหรสพมากมาย
หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก 2 นิ้วเศษ สูง 4 ศอก 16 นิ้วเศษ พุทธลักษณะเป็นสมัยเชียงแสน สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยไทยล้านนา และล้านช้าง ตามตำนาน เล่าว่าลอยน้ำมา และอัญเชิญขึ้นไว้ที่วัดศาลาปูน วัดไร่ขิงนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระราชทานนามให้ว่า วัดมงคลจินดาราม (ไร่ขิง) แต่ชาวบ้านเรียกกันเต็ม ๆ ว่าวัดมงคลจินดารามไร่ขิง จนกระทั่งเหลือแต่ชื่อวัดไร่ขิงไปในที่สุด
คนรุ่นเก่าได้เล่าสืบต่อกันมาว่า วัดไร่ขิงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2394 โดยพระธรรมราชานุวัตร (พุก) ชาวเมืองนครชัยศรี มณฑลนครชัยศรี (ต่อมา ท่านได้รับสถาปนาสมศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก)) ในขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาปูนวรวิหาร ท่านได้กลับมาสร้างวัดไร่ขิงและวัดดอนหวาย ซึ่งเป็นบ้านโยมบิดาและมารดาของท่าน แต่ยังไม่แล้วเสร็จ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) มรณภาพเมื่อปี วอก พ.ศ. 2427 รวมสิริอายุ 91 ปี พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 9 เมษายน ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 10 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา พ.ศ. 2428 
ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มาพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุพิเศษวัดศาลาปูน ดังนั้น งานทุกอย่างจึงตกเป็นภาระของพระธรรมราชานุวัตร (อาจ จนฺทโชโต) เจ้าอาวาสวัดศาลาปูนรูปที่ 6 ซึ่งเป็นหลานชายของท่าน”  แต่ไม่ทราบว่าท่านกลับมาปฏิสังขรณ์วัดเมื่อใดหรือท่านอาจจะมาในปี พ.ศ. 2453 ตอนที่ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระธรรมราชานุวัตรก็อาจเป็นไปได้ ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุ 75 ปี และเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาปูนรูปที่ 6 ต่อจากสมเด็จพุฒาจารย์ (พุก) อย่างไรก็ตาม ในการปฏิสังขรณ์วัดไร่ขิงในสมัยท่านอยู่ประมาณปี พ.ศ. 2427 หรือ 2453 เป็นต้นมา
สำหรับชื่อวัดนั้น มีเรื่องเล่าว่า พื้นที่วัดในอดีตมีชาวจีนปลูกบ้านอาศัยอยู่กันเป็นจำนวนมากและนิยมปลูกขิงกันอย่างแพร่หลาย จนเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านหรือชุมชนในแถบนี้ว่า “ไร่ขิง” ต่อมา เมื่อมีชุมชนหนาแน่นมากยิ่งขึ้นจึงได้มีการสร้างวัดเพื่อเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน ดังนั้น วัดจึงได้ชื่อตามชื่อของหมู่บ้านหรือชุมชนว่า “วัดไร่ขิง”
ในราวปี พ.ศ. 2446 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ เสด็จตรวจเยี่ยมวัดในเขตอำเภอสามพราน สมเด็จฯ ได้เสด็จมาที่วัดไร่ขิง และทรงตั้งชื่อวัดใหม่ว่า “วัดมงคลจินดาราม” ทั้งทรงใส่วงเล็บชื่อเดิมต่อท้ายจึงกลายเป็น “วัดมงคลจินดาราม (ไร่ขิง)” เมื่อเวลาผ่านพ้นมานานและคงเป็นเพราะความกร่อนของภาษาจึงทำให้วงเล็บหายไป คงเหลือเพียงคำว่า “ไร่ขิง” ต่อท้ายคำว่า “มงคลจินดาราม” จึงต้องเขียนว่า “วัดมงคลจินดาราม-ไร่ขิง” แต่ในทางราชการยังคงใช้ชื่อเดิมเพียงว่า “วัดไร่ขิง” สืบมาจนทุกวันนี้
ภาพโดย
คงชีพ ธรรมทัศนานนท์
ขอบคุณข้อมูลจาก

หลวงพ่อโสธร (องค์จริง) ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

หลวงพ่อโสธร (องค์จริง) ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
หลวงพ่อโสธร หรือ หลวงพ่อพระพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพระพุทธรูปหินทราย 11 ชิ้น สมัยอยุธยาตอนต้น หน้าตักกว้างประมาณ 1 ศอกเศษ เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ พระพักตร์ค่อนข้างกลมแป้น พระขนงโก่งเล็กน้อย พระเนตรเล็กหรี่ เหลือบลงต่ำ พระโอษฐ์เล็ก สีพระพักตร์ขรึมแบบอยุธยา ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมร แต่ได้เสริมแต่งขึ้นจากเดิมโดยพอกปูนในภายหลังและลงรักปิดทองให้เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 3 ศอก 5 นิ้ว ศิลปะล้านช้าง (ปัจจุบันกะเทาะปูนออกแล้ว)

พุทธลักษณะ

หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ คือมีพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ พระชงฆ์ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายวางซ้อนกันอยู่บนพระเพลา มีส่วนสูง 6 ฟุต 7 นิ้ว พระเพลากว้าง 5 ฟุต 6 นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐาน อยู่ในพระอุโบสถหลวงวัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา

ตำนาน

ตำนานหลวงพ่อโสธรนั้น ตำนานไม่ได้กล่าวไว้ว่าใครเป็นผู้สร้างหรือสร้างเมื่อใด ทราบตามที่เล่าต่อๆ กันมาแต่เพียงว่า ในจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือของไทย มีพระภิกษุสามองค์พี่น้อง เรียนพระธรรมวินัยแตกฉานแล้วก็จำแลงกายเป็นพระพุทธรูป
เมื่อมาถึงบริเวณหนึ่งก็ปรากฏองค์ขึ้น ชาวบ้านบริเวณนั้นพบเข้าก็พากันเอาเชือกมนิลามาฉุดขึ้น แต่ก็เอาขึ้นมาไม่ได้เพราะเชือกขาด ก่อนที่พระทั้งสามองค์จะจมหายไปบริเวณที่พระทั้งสามองค์ลอยทวนน้ำหนีนั้นเรียกว่า สามพระทวน ต่อมาได้เพี้ยนและเรียกว่า สัมปทวน อำเภอเมืองฉะเชิงเทราจนทุกวันนี้
ต่อมาได้มาผุดขึ้นที่คลองคุ้งให้ชาวบ้านแถวนั้นเห็นอีก ชาวบ้านก็พยายามชุดขึ้นฝั่งแต่ไม่สำเร็จอีก สถานที่นั้นเรียกว่า บางพระ มาจนทุกวันนี้ แต่นั้นมาพระพุทธรูปทั้งสามองค์ก็ได้สำแดงอภินิหารในคลองเล็กๆ ตรงข้ามกองพันทหารช่างที่ 2 ฉะเชิงเทรา บริเวณนั้นเรียกว่า แหลมลอยวน คลองนั้นได้นามว่า คลองสองพี่น้อง ภายหลังก็เงียบไป
จวบจนองค์หนึ่งได้ลอยไปจนถึงแม่น้ำแม่กลอง และไปปรากฏขึ้นที่สมุทรสงคราม ชาวประมงได้พร้อมใจกันอาราธนาขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลมหรือวัดเพชรสมุทรวรวิหาร เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เป็นที่นับถือของพุทธศาสนิกชนชาวสมุทรสงคราม เรียกกันว่า หลวงพ่อบ้านแหลม มาจนทุกวันนี้
องค์ที่สองได้ลอยวนไปวนมาและมาผุดขึ้นหน้า วัดหงษ์ เล่ากันว่า ที่วัดนี้เดิมมีเสาใหญ่มีหงษ์ทำด้วยทองเหลืองอยู่บนยอดเสานั้น จึงได้ชื่อว่าวัดหงษ์ ต่อมาหงษ์ที่ยอดเสาหักตกลงมาเสียชำรุด ทางวัดจึงเอาธงไปติดไว้ที่ยอดเสาแทนรูปหงษ์ จึงได้ชื่อว่าวัดเสาธง แล้วต่อมาก็เกิดมีพายุพัดเสานี้หักลงส่วนหนึ่ง จึงได้ชื่อว่าวัดเสาทอน และต่อมาชื่อนี้ได้กลายไปเป็นวัดโสธร
ประชาชนพลเมืองจำนวนมากได้พากันหลั่งไหลมาอาราธนาฉุดขึ้นฝั่งแต่ก็ไม่สำเร็จ ขณะนั้นมีอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษผู้รู้คนหนึ่งสำเร็จไสยศาสตร์หรือเทพไสยรู้หลักและวิธีอาราธนา จึงได้ทำพิธีปลูกศาลเพียงตาบวงสรวง กล่าวคำอัญเชิญชุมนุมเทวดาอาราธนา และได้ใช้สายสิญจน์คล้องที่พระหัตถ์ของพระพุทธรูปก่อนจะค่อยฉุดลากขึ้นมาบนฝั่ง พระพุทธรูปจึงเสด็จขึ้นมาบนฝั่งเป็นที่ปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งของชาวเมือง จึงได้พร้อมใจกันอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่ในพระวิหารวัดโสธร และเรียกนามว่า พระพุทธโสธร หรือ หลวงพ่อโสธร ตั้งแต่นั้นมา
ส่วนองค์สุดท้ายได้ลอยไปอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาประชาชนละแวกนั้นก็หลั่งไหลมาอาราธนาขึ้นฝั่งฉุดขึ้นเป็นการใหญ่แต่ก็ฉุดขึ้นไม่ได้ เล่ากันว่ามีประชาชนพากันมาฉุดนับได้ถึงสามแสนคน จึงเรียกสถานที่นั้นว่า สามแสน ภายหลังจึงเพี้ยนมาเป็น สามเสน และเรียกกันอยู่ทุกวันนี้ จากนั้นพระพุทธรูปองค์นี้ก็ลอยไปผุดขึ้นที่คลองสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ประชาชนจึงได้ได้อาราธนาขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดพลับพลาชัยชนะสงครามหรือวัดบางพลีใหญ่ในตราบจนทุกวันนี้ เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มากอีกรูปหนึ่งของเมืองไทย คือ หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน
บางตำนานได้เล่าว่ามีพระพุทธรูปพี่น้องอยู่ห้าองค์ อีกสององค์คือ หลวงพ่อไร่ขิง วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม และ หลวงพ่อ(ทอง)เขาตะเครา วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี และบางพื้นที่เล่าเป็นพระพุทธรูปพี่น้องหกองค์ โดยเพิ่ม หลวงปู่หิน วัดอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ด้วย

ประวัติศาสตร์

หลวงพ่อโสธร น่าจะประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธร มานานแล้ว อย่างน้อยๆ ก็ ถึง สมัยเจ้าสามพระยา (500-600 ปีก่อน) เป็นพระหินทรายประกอบสมัยอยุธยา และเดิมที วัดนี้ก็ชื่อโสธร ตามชื่อคลองโสธร มานานแล้ว ไม่มีหลักฐานที่บอกว่าชื่อ วัดหงษ์ เพราะ เสาหงษ์หัก เลยชื่อ เสาทอน เพี้ยนมาเป็นโสธร ตามตำนานหลวงพ่อโสธร นิราศฉะเชิงเทราและโคลงนิราศปราจีนบุรี ที่แต่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อกวีเดินทางผ่านบ้านโสธร ก็กล่าวถึงเพียงวัดโสธรเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงหลวงพ่อโสธรเลย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2416 พระยาวิเศษฤๅไชย(ช้าง) เจ้าเมืองฉะเชิงเทรา ได้สร้างพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร และสร้างถนนดินจากหน้าเมืองมาวัดโสธร 26 เส้น นางมีภรรยาได้สร้างศาลาและขุดสระกึ่งกลางถนน สันนิฐานว่าการบูรณะครั้งนั้น ได้พอกปูนปั้นหลวงพ่อโสธรทำให้กลายเป็นพุทธศิลป์ล้านช้าง เพราะกลุ่มช่างที่บูรณะมาจากเมืองพนมสารคาม หลังจากนั้นก็ได้ใช้พระอุโบสถเป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
ส่วนตำนานหลวงพ่อโสธรลอยน้ำมานั้น สันนิฐานว่ามาจากกลุ่มคนมอญแถววัดโสธรที่นำตำนานพระลอยน้ำจากพระราชพงศาวดารเหนือ มาอธิบายประวัติหลวงพ่อโสธร

พระอุโบสถหลังใหม่

แต่เดิม หลวงพ่อพุทธโสธรประทับอยู่ในโบสถ์หลังเก่าที่มีขนาดเล็กซึ่งสร้างใหม่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมกับพระพุทธรูปองค์อื่นๆอีก 18 องค์ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จราชดำเนินมาที่วัดแห่งนี้ มีพระราชปรารภเรื่องความคับแคบของพระอุโบสถเดิม พระจิรปุณโญ (ด. เจียม กุลละวณิชย์) อดีตเจ้าอาวาสจึงได้รวบรวมเงินบริจาคเพื่อจัดซื้อที่ดินสำหรับสร้างพระอุโบสถหลังใหม่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานการสร้าง และทรงเป็นผู้กำกับดูแลงานสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ พ.ศ. 2531 และทรงประกอบพิธียกยอดฉัตรทองคำ น้ำหนัก 77 กิโลกรัม ประดิษฐานเหนือยอดมณฑป เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2539 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จมาทรงตัดหวายลูกนิมิต เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2549 
การก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ สร้างขึ้นครอบพระอุโบสถหลังเดิม โดยใช้เทคนิควิศวกรรมสมัยใหม่ โดยไม่มีการเคลื่อนย้ายองค์หลวงพ่อพุทธโสธร และพระพุทธรูปทั้ง 18 องค์ 
ศิลปะภายในพระอุโบสถหลวงพ่อพุทธโสธร ประกอบด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบนับตั้งแต่พื้นพระอุโบสถ เสา ผนัง และเพดานจะบรรจุเรื่องราวให้เป็นแดนแห่งทิพย์ เป็นเรื่องราวของสีทันดรมหาสมุทร จตุโลกบาล สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พรหมโลก ดวงดาว และจักรวาล โดยตำแหน่งของดวงดาวบนเพดาน กำหนดตำแหน่งตรงกับวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2539 ณ เวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธียกยอดฉัตรทองคำ
อนึ่ง ในการสร้างพระอุโบสถใหม่ครั้งนั้น กรมศิลปากรได้ทำการกะเทาะปูนปั้นที่หุ้มองค์หลวงพ่อโสธรออก ทำให้พบว่าหลวงพ่อโสธรเป็นหินทราย 11 ชิ้น ศิลปะอยุธยาตอนต้น โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระพรหมคุณาภรณ์ (จิรปุญโญ ด.เจียม กุลละวณิชย์) อดีตเจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร และดร.สุวิชญ์ รัศมิภูติ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ได้ร่วมเป็นพยานบุคคลในการปฏิบัติงานกะเทาะปูนหลวงพ่อโสธรด้วย

งานเทศกาลประจำปี

เทศกาลประจำปีหลวงพ่อโสธรจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง คือ
  • ครั้งแรกจัดช่วงเดือน 5 เรียกว่า งานกลางเดือน 5 เริ่มจัดงานตั้งแต่วันขึ้น 14-15 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 รวม 3 วัน
  • ครั้งที่สองจัดช่วงเดือน 12 เรียกว่า งานกลางเดือน 12 เริ่มจัดงานตั้งแต่วันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 รวม 5 วัน โดยจัดร่วมกับงานกาชาดจังหวัดฉะเชิงเทรา
ภาพโดย
คงชีพ ธรรมทัศนานนท์
ขอบคุณที่มาข้อมูล https://th.wikipedia.org/wiki/พระพุทธโสธร

ปิดทองฝังลูกนิมิต 2562






1 วัดประยงค์กิตติวนาราม 28 ธันวาคม 2561 - 5 มกราคม 2562 แขวงคลองสิบสอง เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร
2 วัดขันติเมตตา (หนองผู้เฒ่า) 31 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ด่านมะขามเตี้ย อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี
3 วัดพุใหญ่เจริญธรรม 31 มกราคม - 8 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ลาดหญ้า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
4 วัดทุ่งนาคราช 1 - 11 กุมภาพันธ์ 2562 ต.หนองหญ้า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
5 วัดป่าบ้านหม้อ 9 - 17 มีนาคม 2562 ต.แจนแลน อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์
6 วัดโนนวังทองสามัคคีธรรม 26 - 28 กุมภาพันธ์ 2562 ต.โนนศิลาเลิง อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์
7 วัดยอดพระธรรมน้ำทิพย์ 14 - 18 พฤศจิกายน 2561 ต.สะอาดไชยศรี อ.ดอนจาน จ.กาฬสินธุ์
8 วัดป่าช้างแก้ว 28 - 30 ธันวาคม 2561 ต.ขมิ้น อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
9 วัดสว่างหัวนาคำ 4 - 10 มีนาคม 2562 ต.หัวนาคำ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์
10 วัดโกสัมพี 28 ธันวาคม 2561 - 5 มกราคม 2562 ต.โกสัมพี อ.โกสัมพี จ.กำแพงเพชร
11 วัดปางมะค่า 29 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.ปางมะค่า อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร
12 วัดเจริญสุข 28 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.คลองน้ำไหล อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร
13 วัดทุ่งหญ้าคา 28 ธันวาคม 2561 - 5 มกราคม 2562 ต.คลองน้ำไหล อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร
14 วัดรวงผึ้งพัฒนาราม 28 มกราคม - 5 กุมภาพันธ์ 2562 ต.คลองน้ำไหล อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร
15 วัดท่าข้ามสามัคคี 6 - 15 เมษายน 2562 ต.คลองลานพัฒนา อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร
16 วัดคอปล้อง 28 ธันวาคม 2561 - 5 มกราคม 2562 ต.ระหาน อ.บึงสามัคคี จ.กำแพงเพชร
17 วัดทุ่งเศรษฐี 25 ธันวาคม 2561 - 5 มกราคม 2562 ต.นครชุม อ.เมือง จ.กำแพงเพชร
18 วัดเทวาพิทักษ์ (สระแห้ง) 6 - 14 เมษายน 2562 ต.โนนพลวง อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร
19 วัดฟากทุ่ง 29 ธันวาคม 2561 - 8 มกราคม 2562 ต.โนนพลวง อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร
20 วัดป่าหินเกิ้งวิปัสสนา 3 - 7 มีนาคม 2562 ต.บ้านแฮด อ.บ้านแฮด จ.ขอนแก่น
21 วัดตาลเรียง 6 - 12 กุมภาพันธ์ 2562 ต.พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น
22 วัดสุนทราวาส 28 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม 2561 ต.ทางขวาง อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น
23 วัดเนินมะหาด 31 มกราคม - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ซากไทย อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี
24 วัดเขารูปช้าง 1 - 11 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ซากไทย อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี
25 วัดเขาพริก 1 - 9 กุมภาพันธ์ 2562 ต.คลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา
26 วัดเทพพนาราม 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.คลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา
27 วัดทุ่งยายดำ 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ท่าตะเกียบ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา
28 วัดสมานสามัคคี 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.สิบเอ็ดศอก อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา
29 วัดวีระโชติธรรมาราม 1 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.คลองหลวงเเพ่ง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
30 วัดสระไม้เเดง 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.คู้ยายหมี อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา
31 วัดท้าวอู่ไท 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา
32 วัดอัมพวัน ก.ม. 7 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ลาดกระทิง อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา
33 วัดป่าเจริญธรรม 1 - 9 กุมภาพันธ์ 2562 ต.เกษตรสุวรรณ อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี
34 วัดเขามะกรูด 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.เกษตรสุวรรณ อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี
35 วัดมงคลสวัสดิ์ (เม้าสุขขา) 3 - 11 กุมภาพันธ์ 2562 ต.หนองซ้ำซาก อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี
36 วัดเนินกระบก 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
37 วัดปากน้ำ ศรีราชา 2 - 13 กุมภาพันธ์ 2562 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
38 วัดหนองม่วง 28 ธันวาคม 2561 - 5 มกราคม 2562 ต.วัดโคก อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท
39 วัดหนองจอกธรรมาราม 29 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.นางลือ อ.เมือง จ.ชัยนาท
40 วัดอรัญญิก 29 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.เเพรกศรีราชา อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
41 วัดหนองปลิง 28 ธันวาคม 2561 - 5 มกราคม 2562 ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
42 วัดบูรพาราม 28 ธันวาคม 2561 - 1 มกราคม 2562 ต.บ้านเป้า อ.เกษตรสมบูรณ์  จ.ชัยภูมิ
43 วัดอัมพวัน 27 ธันวาคม 2561 - 3 มกราคม 2562 ต.โคกกุง อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ
44 วัดแถวอรัญญา 5 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.หลุบคา อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ
45 วัดเกาะหมาก 7 - 10 มีนาคม 2562 ต.ห้วยยาง อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ
46 วัดชนะจินดาราม 4 - 9 กุมภาพันธ์ 2562 ต.บ้านขาม อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ
47 วัดซับประสิทธิ์ 3 - 9 พฤษภาคม 2562 ต.เจาทอง อ.ภักดีชุมพล จ.ชัยภูมิ
48 วัดธรรมสถาน 25 ธันวาคม 2561 - 2 มกราคม 2562 ต.โอโล อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ
49 วัดชัยภูมิวนาราม 27 ธันวาคม 2561 - 2 มกราคม 2562 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ
50 วัดสมสะอาด 9 - 11 มีนาคม 2562 ต.คูเมือง อ.หนองบัวเเดง จ.ชัยภูมิ
51 วัดมุจลินทาราม 7 - 14 เมษายน 2562 ต.ช่องไม้เเก้ว อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร
52 วัดเขาเจดีย์ 27 ธันวาคม 2561 - 3 มกราคม 2562 ต.บางสน อ.ปะทิว จ.ชุมพร
53 วัดปังหวาน 1 - 11 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ปังหวาน อ.พะโต้ะ จ.ชุมพร
54 วัดหนองเเว่น 13 - 15 กุมภาพันธ์ 2562 ต.เเม่จัน อ.เเม่จัน จ.เชียงราย
55 วัดสันปูเลย 7 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.บ้านด้าย อ.เเม่สาย จ.เชียงราย
56 วัดสันกองพัฒนาราม 12 - 14 ธันวาคม 2561 ต.โรงช้าง อ.ป่าเเดด จ.เชียงราย
57 วัดดงมะคอเเลน 15 - 18 กุมภาพันธ์ 2562 ต.หัวง้ม อ.พาน จ.เชียงราย
58 วัดร่องดู่  อุดมสมพร  ทองธรรมชาติ 1 - 7 มีนาคม 2562 ต.ดอยลาน อ.เมือง จ.เชียงราย
59 วัดรุ่งเรือง 22 - 25 ธันวาคม 2561 ต.ดอยลาน อ.เมือง จ.เชียงราย
60 วัดหัตถีวนาราม 16 - 19 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ดอยลาน อ.เมือง จ.เชียงราย
61 วัดป่าอ้อร่มเย็น 7 - 9 กุมภาพันธ์ 2562 ต.นางเเล อ.เมือง จ.เชียงราย
62 วัดห้วยปลากั้ง 5 - 13 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย
63 วัดสันติคีรีญาณสังวราราม 27 ตุลาคม - 4 พฤศจิกายน 2561 ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
64 วัดใหม่มงคล 20 - 25 มีนาคม 2562 ต.ดอนศิลา อ.เวียงชัย จ.เชียงราย
65 วัดพระยอดขุนพลเวียงกาหลง 21 - 23 ตุลาคม 2561 ต.เวียงกาหลง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
66 วัดขามสุ่ม 20 - 21 มกราคม 2562 ต.เวียง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
67 วัดสามัคคีธรรม 26 มกราคม 2562 ต.ขี้เหล็ก อ.เเม่ริม จ.เชียงใหม่
68 วัดคีรีบรรพต 5 - 10 พฤศจิกายน 2561 ต.เเม่เเรม อ.เเม่ริม จ.เชียงใหม่
69 วัดน้ำตกเเม่สา 5 - 10 พฤศจิกายน 2561 ต.เเม่เเรม อ.เเม่ริม จ.เชียงใหม่
70 วัดปงไคร้ 28 - 30 ตุลาคม 2561 ต.โป่งเเยง อ.เเม่ริม จ.เชียงใหม่
71 วัดบ้านวาก (ศรีลอมเมือง) 1 - 5 มกราคม 2562 ต.ออนกลาง อ.เเม่ออน จ.เชียงใหม่
72 วัดดับภัย (บ้านทุ่งละคร) 31 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2562 ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
73 วัดเจดีย์เเม่ครัว 7 - 10 มีนาคม 2562 ต.เเม่แฝก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
74 วัดฮ่องกอก (ดวงดี) 8 - 10 มีนาคม 2562 ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่
75 วัดหนองบัว 15 - 17 กุมภาพันธ์ 2562 ต.หนองตอง อ.หางดง จ.เชียงใหม่
76 วัดดอยแก้วเทพเนรมิต 27 - 29 ธันวาคม 2561 ต.ทุ่งกระเชาะ อ.บ้านตาก จ.ตาก
77 วัดอรัญญิกวนาราม 29 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.วังเจ้า อ.วังเจ้า จ.ตาก
78 วัดบุหัวเเหวน 2 - 12 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ศรีกะอาง อ.บ้านนา จ.นครนายก 
79 วัดคลอง 1 31 มกราคม - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ทรายมูล อ.องครักษ์ จ.นครนายก 
80 วัดใหม่พงษ์โสภณ (วัดคลอง 2) 31 มกราคม - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.บางลูกเสือ อ.องครักษ์ จ.นครนายก 
81 วัดเตยน้อย 1 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.บางสมบูรณ์ อ.องครักษ์ จ.นครนายก 
82 วัดจรูญเวสม์ธรรมาราม 29 ธันวาคม 2561 - 3 มกราคม 2562 ต.ศีรษะกระบือ อ.องครักษ์ จ.นครนายก 
83 วัดศรีบรรทม 10 - 13 มีนาคม 2562 ต.นาคู่ อ.นาเเก จ.นครพนม
84 วัดโนนรัง 8 - 10 มีนาคม 2562 ต.นาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม
85 วัดศรีมงคล 9 - 11 มกราคม 2562 ต.หนองเเวง อ.บ้านเเพง จ.นครพนม
86 วัดสว่างศิลาวาส 6 - 8 มีนาคม 2562 ต.นาราชควาย อ.เมือง จ.นครพนม
87 วัดบ้านงิ้ว 29 ธันวาคม 2561 - 2 มกราคม 2562 ต.คูขาด อ.คง จ.นครราชสีมา
88 วัดปรางค์น้อย 1 - 3 มกราคม 2562 ต.พลับพลา อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา
89 วัดหนองบง 26 ธันวาคม 2561 - 3 มกราคม 2562 ต.ด่านใน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
90 วัดดอนตะเเบง 27 ธันวาคม 2561 - 4 มกราคม 2562 ต.สระจรเข้ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
91 วัดหนองนาดี 28 ธันวาคม 2561 - 2 มกราคม 2562 ต.ดอนยาวใหญ่ อ.โนนแดง จ.นครราชสีมา
92 วัดหัวทำนบ 28 ธันวาคม 2561 - 3 มกราคม 2562 ต.ธารปราสาท อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา
93 วัดหญ้าคาเหนือ 29 ธันวาคม 2561 - 4 มกราคม 2562 ต.ธารปราสาท อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา
94 วัดโนนตะกั่ว 29 ธันวาคม 2561 - 2 มกราคม 2562 ต.เมืองปราสาท อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา
95 วัดโพธิ์ศรีวราราม 28 ธันวาคม 2561 - 4 มกราคม 2562 ต.โนนจาน อ.บัวลาย จ.นครราชสีมา
96 วัดราษฎร์ประดิษฐ์ (บ้านนาดอนบก) 30 ธันวาคม 2561 - 3 มกราคม 2562 ต.เสมาใหญ่ อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา
97 วัดป่าใหญ่เกษร 10 - 13 มกราคม 2562 ต.นางรำ อ.ประทาย จ.นครราชสีมา
98 วัดป่ามงคลธรรม 26 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.ตะขบ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
99 วัดวังมะนาว 29 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.คลองม่วง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
100 วัดถ้ำพรหมประดิษฐ์ 29 ธันวาคม 2561 - 3 มกราคม 2562 ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
101 วัดหนองขวาง (ราษฎร์สันติธรรม) 28 ธันวาคม 2561 - 4 มกราคม 2562 ต.วังกะทะ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
102 วัดเกาะเเก้วคงคาราม 27 ธันวาคม 2561 - 4 มกราคม 2562 ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
103 วัดใหม่ทรงธรรม 28 ธันวาคม 2561 - 3 มกราคม 2562 ต.กระเบื้องใหญ่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา
104 วัดมาบประดู่ 27 ธันวาคม 2561 - 4 มกราคม 2562 ต.หนองระเวียง อ.พิมาย จ.นครราชสีมา
105 วัดหนองบัว 28 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.บ้านโพธิ์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา
106 วัดคลองส่งน้ำ 28 ธันวาคม 2561 - 5 มกราคม 2562 ต.ปรุใหญ่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา
107 วัดกุดหัวช้าง 28 ธันวาคม 2561 - 5 มกราคม 2562 ต.โนนค่า อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
108 วัดหนองพยอม 16 - 24 มีนาคม 2562 ต.หนองตะไก้ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
109 วัดนิคมคีรี 19 - 22 ธันวาคม 2561 ต.เขาขาว อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
110 วัดทะเล 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ควนกรด อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
111 วัดแคทราย 28 ธันวาคม 2561 - 5 มกราคม 2562 ต.อุดมธัญญา อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์
112 วัดล้ำเจริญ 29 ธันวาคม 2561 - 4 มกราคม 2562 ต.อุดมธัญญา อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์
113 วัดเทพมรกต (วัดเเม่ชี) 28 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.ช่องแค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
114 วัดสองพี่น้อง 29 ธันวาคม 2561 - 5 มกราคม 2562 ต.ด่าช้าง อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์
115 วัดใหม่หนองกรด 27 ธันวาคม 2561 - 5 มกราคม 2562 ต.หนองกรด อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์
116 วัดใหม่วารีเย็น 27 ธันวาคม 2561 - 5 มกราคม 2562 ต.ไพศาลี อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์
117 วัดมอสวรรค์วนาราม 28 ธันวาคม 2561 - 5 มกราคม 2562 ต.เเม่เล่ย์ อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์
118 วัดทุ่งทอง 27 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.ทุ่งทอง อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์
119 วัดหนองกะเปา 29 ธันวาคม 2561 - 7 มกราคม 2562 ต.ทุ่งทอง อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์
120 วัดยางป่า 1 - 11 กุมภาพันธ์ 2562 ต.บางขนุน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
121 วัดรัตนานุภาพ 6 - 12 พฤษภาคม 2562 ต.โต๊ะเด็ง อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส
122 วัดร้องเเง 30 ธันวาคม 2561 - 3 มกราคม 2562 ต.วรนคร อ.ปัว จ.น่าน
123 วัดดอนมูล 28 ธันวาคม 2561 - 1 มกราคม 2562 ต.ดู่ใต้ อ.เมือง จ.น่าน
124 วัดโพธาราม 8 - 15 กุมภาพันธ์ 2562 ต.บึงกาฬ อ.บึงกาฬ จ.บึงกาฬ
125 วัดป่าหนองงิ้วหนองไทร 2 - 8 กุมภาพันธ์ 2562 ต.นางรอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
126 วัดอิสาณ 30 ธันวาคม 2561 - 3 มกราคม 2562 ต.แดงใหญ่ อ.บ้านใหม่ไชยพจน์ จ.บุรีรัมย์
127 วัดตาด่าน 15-19 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ประโคนชัย อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
128 วัดราษฎร์บำรุง 3 - 9 มีนาคม 2562 ต.พุทไธสง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์
129 วัดชัยศรี 17 - 21 มกราคม 2562 ต.โคกล่าม อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
130 วัดบ้านสีชวา 11 - 17 เมษายน 2562 ต.พไทรินทร์ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
131 วัดป่าสามัคคีธรรม 17 - 23 ธันวาคม 2561 ต.ดอนอะราง อ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์
132 วัดป่าสระขวัญ 28 ธันวาคม 2561 - 3 มกราคม 2562 ต.สระแก้ว อ.หนองหงส์ จ.บุรีรัมย์
133 วัดป่าศรีนางกุล 20 - 24 มีนาคม 2562 ต.ห้วยหิน อ.หนองหงษ์ จ.บุรีรัมย์
134 วัดดอนศิลาราม 30 ธันวาคม 2561 - 4 มกราคม 2562 ต.ห้วยราช อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์
135 วัดบ่อทองหลาง 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.เเม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์
136 วัดห้วยสามพันนาม 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.หินเหล็กไฟ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
137 วัดพุทธาราม 1 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.เขาไม้เเก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
138 วัดป่าประดู่ 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.เมืองเก่า อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
139 วัดทุ่งยาว 27 ธันวาคม 2561 - 3 มกราคม 2562 ต.โพธิ์งาม อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
140 วัดหัวควน (วัดพ่อท่านหยวก) 1 - 9 มีนาคม 2562 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
141 วัดราษฏร์สโมสร (โตนดิน) 23 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2562 ต.ถ้ำ อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา
142 วัดศรัทธาราม (วัดมะรุ่ย) 21 - 30 เมษายน 2562 ต.มะรุ่ย อ.ทับปุด จ.พังงา
143 วัดควนเผยอ 7 - 15 เมษายน 2562 ต.ดอนประดู่ อ.ปากพยูน จ.พัทลุง
144 วัดควนเเสวง 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.โคกทราย อ.ป่าดอน จ.พัทลุง
145 วัดบ่วงช้าง 16 - 23 มีนาคม 2562 ต.นาโหนด อ.เมือง จ.พัทลุง
146 วัดบึงประดู่ 28 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.ทับหมัน ต.ตะพานหิน จ.พิจิตร
147 วัดวังบงก์ 28 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.สำนักขุนเณร อ.ดงเจริญ จ.พิจิตร
148 วัดหนองแขม 26 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.บึงนาราง อ.บึงนาราง จ.พิจิตร
149 วัดทุ่งประพาส 28 ธันวาคม 2561 - 8 มกราคม 2562 ต.ทุ่งใหญ่ อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร
150 วัดโพธิ์เงิน 26 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.ไผ่ท่าโพ อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร
151 วัดเกาะแก้ว 25 ธันวาคม 2561 - 4 มกราคม 2562 ต.ไผ่รอบ อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร
152 วัดหนองต้นไทร 25 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.โพธิ์ประทับช้าง อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร
153 วัดราษฎร์นิยม 27 ธันวาคม 2561 - 5 มกราคม 2562 ต.วัดตายม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก
154 วัดวังขี้เหล็ก 29 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก
155 วัดท่าทองน้อย (บ้านน้อยท่าทอง) 28 ธันวาคม 2561 - 1 มกราคม 2562 ต.ศรีภิรมย์ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก
156 วัดบึงบ้านเก่า 27 ธันวาคม 2561 - 3 มกราคม 2562 ต.ดอนทอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก
157 วัดบ้านน้อย 28 ธันวาคม 2561 - 5 มกราคม 2562 ต.หินลาด อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก
158 วัดบางประจันต์ (วัดวังไคร้) 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.วังไคร้ อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี
159 วัดเนินหนองโสน (เขาเจ้าราม) 4 - 12 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ห้วยข้อง อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
160 วัดยางน้ำกลัดเหนือ 4 - 12 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ยางน้ำกลัดเหนือ อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี
161 วัดเขาน้อยสามัคคีธรรม 28 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.ลาดเเค อ.ชนเเดน จ.เพชรบูรณ์
162 วัดหัวถนน 28 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.ศาลาลาย อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
163 วัดสว่างอารมณ์ 28 ธันวาคม 2561 - 4 มกราคม 2562 ต.ดงมูลเหล็ก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
164 วัดละหาน 1 - 8 กุมภาพันธ์ 2562 อ.ห้วยสะแก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
165 วัดแสงมณีเจริญธรรม 9 - 15 เมษายน 2562 ต.ซับสมบูรณ์ อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์
166 วัดหนองไม้สอ 28 ธันวาคม 2561 - 3 มกราคม 2562 ต.บ่อรัง อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์
167 วัดน้ำชุนวารี 28 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.น้ำชุน อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์
168 วัดใหม่ไทยพัฒนา 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.น้ำชุน อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์
169 วัดศรีชมชื่น 24 - 30 ธันวาคม 2561 ต.บ้านหวาย อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์
170 วัดผาหมูสามัคคี 24 - 26 มกราคม 2562 ต.ร้องกวาง อ.ร้องกวาง จ.แพร่
171 วัดศรีมหาโพธิ์ 30 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2562 ต.คันธารราษฏร์ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
172 วัดป่าหนองชาด 8 - 17 มีนาคม 2562 ต.ดอนเงิน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม
173 วัดจันทร์ประสิทธิ์ 11 - 16 มีนาคม 2562 ต.โพนทอง อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม
174 วัดเมืองเสือสุขุมาราม 15 - 17 มีนาคม 2562 ต.เมืองเสือ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม
175 วัดวังยาววารี 9 - 13 มกราคม 2562 ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม
176 วัดบ้านเเพะ 22 - 24 มีนาคม 2562 ต.บ้านกาศ อ.เเม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
177 วัดดงเย็น 3 - 5 กุมภาพันธ์ 2562 ต.นาโส อ.กุดชุม จ.ยโสธร
178 วัดขาทราย 9 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.พระเสาร์ อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร
179 วัดป่าหนองบัวแดง 25 - 27 มกราคม 2562 ต.พระเสาร์ อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร
180 วัดโพธิ์ไทร 22 - 26 ธันวาคม 2561 ต.กุดแห่ อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร
181 วัดอินทาราม 9 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.โนนสง่า อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด
182 วัดป่าโนนรัง 10 - 12 เมษายน 2562 ต.โนนรัง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
183 วัดโคกข่า 30 ธันวาคม 2561 - 2 มกราคม 2562 ต.ศรีสมเด็จ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด
184 วัดบ้านคูดินทราย 1 - 5 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ทุ่งหลวง อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
185 วัดมะค่าไทรงาม 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.กองดิน อ.เเกลง จ.ระยอง 
186 วัดถ้ำสุวรรณภูผา (สี่เเยกพัฒนา) 5 - 13 กุมภาพันธ์ 2562 ต.เขาน้อย อ.เขาชะเมา จ.ระยอง 
187 วัดหนองไร่ 1 - 11 กุมภาพันธ์ 2562 ต.หนองไร่ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง 
188 วัดหนองโกเจริญธรรม 1 - 9 กุมภาพันธ์ 2562 ต.หนองพันจันทร์ อ.บ้านคา จ.ราชบุรี
189 วัดยางคู่ 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ยางหัก อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี
190 วัดห้วยไม้เต็ง 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.น้ำพุ อ.เมือง จ.ราชบุรี
191 วัดพิกุลทอง 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.พิกุลทอง อ.เมือง จ.ราชบุรี
192 วัดหนองบัว 27 ธันวาคม 2561 - 4 มกราคม 2562 ต.คลองเกตุ อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี
193 วัดดอนไชย 20 - 23 มกราคม 2562 ต.เเม่สุก อ.เเจ้ห่ม จ.ลำปาง
194 วัดสะเลียมหวาน 14 - 16 มีนาคม 2562 อ.เวียงมอก อ.เถิน จ.ลำปาง
195 วัดป่าป๋อ 18 - 20 มกราคม 2562 ต.ท่าตุ้ม อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
196 วัดแม่ยาก ดวงดี 5 - 9 ธันวาคม 2561 ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ลำพูน
197 วัดป่าตันเจริญธรรม 26 - 31 ธันวาคม 2561 ต.เหมืองจี้ อ.เมือง จ.ลำพูน
198 วัดเครือหงษ์ 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.โป่ง อ.ด่านซ้าย จ.เลย
199 วัดจอมศรี 25 - 27 มกราคม 2562 ต.โพนสูง อ.ด่านซ้าย จ.เลย
200 วัดดอยเเสงอรุณ 21 - 23 กุมภาพันธ์ 2562 ต.นาด้วง อ.นาด้วง จ.เลย
201 วัดหนองบอน 1 - 3 มีนาคม 2562 ต.ดูน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
202 วัดบ้านขะยูง 31 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.ห้วยตามอญ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ
203 วัดบ้านกอก 12 - 14 เมษายน 2562 ต.โพนเขวา อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
204 วัดป่าใต้พัฒนาราม สงกรานต์ ปี 2562 ต.ทุ่งสว่าง อ.วังหิน จ.ศรีสะเกษ
205 วัดศรีบุญเรือง 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.นาเเต้ อ.คำตากล้า จ.สกลนคร
206 วัดศรีรัตนาราม 6 - 8 เมษายน 2562 ต.เชียงเครือ อ.เมือง จ.สกลนคร
207 วัดโพนยางคำ 6 - 10  กุมภาพันธ์ 2562 ต.โนนหอม อ.เมือง จ.สกลนคร
208 วัดทุ่งรวงทอง 30 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2561 ต.พังขว้าง อ.เมือง จ.สกลนคร
209 วัดโคกม่วง 1 - 10 มีนาคม 2562 ต.โคกม่วง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา
210 วัดช้างคลอด 15 - 20 มีนาคม 2562 ต.ท่าหมอไทร อ.จะนะ จ.สงขลา
211 วัดสร่างโศก (วัดมอญ) 1 - 12 กุมภาพันธ์ 2562 ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ
212 วัดท่าไม้ 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มเเบน จ.สมุทรสาคร
213 วัดศาลพันท้ายนรสิงห์ 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
214 วัดเจษฎาราม (พระอารามหลวง) 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
215 วัดทับทิมสยาม 05 29 มกราคม - 7 กุมภาพันธ์ 2562 ต.คลองไก่เถื่อน อ.คลองหาด จ.สระแก้ว
216 วัดทรัพย์ตะเคียน 15 - 20 มกราคม 2562 ต.ซับมะกรูด อ.คลองหาด จ.สระแก้ว
217 วัดโนนประดู่ 1 - 9 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ไทรเดี่ยว อ.คลองหาด จ.สระแก้ว
218 วัดเพชรพนานิคม 1 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ตาหลังใน อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว
219 วัดป่าหนองขาม 1 - 9 กุมภาพันธ์ 2562 ต.แซร์ออ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว
220 วัดโนนเมือง (บ้านโนน) 1 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ท่าเกวียน อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว
221 วัดหนองใหญ่ 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ผักขะ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว
222 วัดท่าช้างประชาสรรค์ 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.หนองหมากฝ้าย อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว
223 วัดภูน้ำเกลี้ยง 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.บ้านไร่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
224 วัดโป่งมงคล 1 - 9 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ถ้ำมะปราง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
225 วัดหนองหว้า 2 - 11 กุมภาพันธ์ 2562 ต.พุแค อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี
226 วัดโคกสะอาด 3 - 9 กุมภาพันธ์ 2562 ต.หนองโดน อ.หนองโดน จ.สระบุรี
227 วัดดอนกะเชา 29 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.เชิงกลัด อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี
228 วัดหัวป่า 2 - 10 มีนาคม 2562 ต.หัวป่า อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
229 วัดหนองเฒ่า 27 ธันวาคม 2561 - 2 มกราคม 2562 ต.ลานหอย อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย
230 วัดดอนจันทร์ 20 - 26 พฤศจิกายน 2561 ต.บ้านไร่ อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย
231 วัดบ่อแปดร้อย 20 - 24 กุมภาพันธ์ 2562 ต.ในเมือง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
232 วัดดงอู่ทอง 29 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.หนองมะค่าโมง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
233 วัดบวรศิริธรรม (เขามอ) 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.หนองบ่อ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
234 วัดหัวทำนบ 2 - 10 กุมภาพันธ์ 2562 ต.บ้านดอน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
235 วัดจันทาวาส 8 - 16 พฤษภาคม 2562  ต.ท่าทอง อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี
236 วัดถ้ำเขากอม 6 - 16 เมษายน 2562 ต.คลองพา อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี
237 วัดกาฬสินธุ์ 26 ธันวาคม 2561 - 4 มกราคม 2562 ต.ประสงค์ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี
238 วัดถ้ำสมิงพราย (วัดเทพ) 12 - 14 มีนาคม 2562 ต.ท่ากระดาน อ.คีรีรัฐนิยม จ.สุราษฏร์ธานี
239 วัดบ้านดู่ 30 ธันวาคม 2561 - 4 มกราคม 2562 ต.ชุมพลบุรี อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์
240 วัดสุริโย 1 - 3 กุมภาพันธ์ 2562 ต.หนองเทพ อ.โนนนารายณ์ จ.สุรินทร์
241 วัดไทยเดิมโพธิธรรม 29 ธันวาคม 2561 - 2 มกราคม 2562 ต.สำเภาลูน อ.บัวเชด จ.สุรินทร์
242 วัดศิริมงคล 29 ธันวาคม 2561 - 2 มกราคม 2562 ต.โชคเหนือ อ.ลำดวน จ.สุรินทร์
243 วัดโสดารามบ่อน้ำใส 28 ธันวาคม 2561 - 3 มกราคม 2562 ต.ตรึม อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
244 วัดแท่นศิลา 11 - 16 เมษายน 2562 ต.นานวน อ.สนม จ.สุรินทร์
245 วัดโพธิ์ศรีอนงคาราม 3 - 10 มกราคม 2562 ต.กองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย
246 วัดนาโพธิ์ 24 - 28 ตุลาคม 2561 ต.ท่าบ่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย
247 วัดสุธรรมนิมิตร (วัดท่า) 29 ธันวาคม 2561 - 5 มกราคม 2562 ต.กวนวัน อ.เมือง จ.หนองคาย
248 วัดโนนสง่า 31 ธันวาคม 2561 - 5 มกราคม 2562 ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
249 วัดเวฬุวัน 29 ธันวาคม 2561 - 2 มกราคม 2562 ต.บ้านฝาง อ.สระไคร จ.หนองคาย
250 วัดบูรพา 5 - 9 กุมภาพันธ์ 2562 ต.กุดดู่ อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู
251 วัดชัยชนะวิทยาราม 22 - 26 กุมภาพันธ์ 2562 ต.โนนเมือง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู
252 วัดเเก้วพิจิตร 11 - 15 มีนาคม 2562 ต.โนนขมิ้น อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
253 วัดโพธิ์ชัย 28 - 31 ธันวาคม 2561 ต.กุดผึ้ง อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู
254 วัดพรานนก 28 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.โพสาวหาญ อ.อุทัย จ.อยุธยา
255 วัดป่าหนองกุง (วัดนาหว้า) 21 - 29 ธันวาคม 2561 ต.นาหว้า อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ
256 วัดบ้านลืออุทธาทิพย์ 18 - 20 มกราคม 2562 ต.ลือ อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ
257 วัดมงคลนาราม 4 - 9 มกราคม 2562 ต.ขอนยูง อ.กุดจับ จ.อุดรธานี
258 วัดดงสะคูห์วิทยา 8-14 ธันวาคม 2562 ต.ขอนยูง อ.กุดจับ จ.อุดรธานี
259 วัดบูรพาราม 13 - 17 กุมภาพันธ์ 2562 ต.สร้างก่อ อ.กุดจับ จ.อุดรธานี
260 วัดดงสระพังทอง 29 ธันวาคม 2561 - 6 มกราคม 2562 ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
261 วัดโพธิ์ชัยศรีสว่าง 12 - 14 กุมภาพันธ์ 2562 ต.นาม่วง อ.ประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี
262 วัดโนนตูมสราราม (วัดป่าดงหนองตาล) 13 - 15 เมษายน 2562 ต.กุดสระ อ.เมือง จ.อุดรธานี
263 วัดอรัญญเขต 26 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2562 ต.สามพร้าว อ.เมือง จ.อุดรธานี
264 วัดสันติวนาราม (วัดป่าดงไร่) 23 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2562 ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี
265 วัดธาตุโพธิ์ชัย 12 - 17 เมษายน 2562 ต.สร้อยพร้าว อ.หนองหาน จ.อุดรธานี
266 วัดไผ่ลูกช้าง 25 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2561 ต.ข่อยสูง อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์
267 วัดทุ่งป่ากระถิน 28 ธันวาคม 2561 - 3 มกราคม 2562 ต.พญาแมน อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์
268 วัดนาโปร่ง (ม่อนถ้ำชัยมงคล) 25 ธันวาคม 2561 - 2 มกราคม 2562 ต.ท่าเสา อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์
269 วัดโป่งข่อย 28 ธันวาคม 2561 - 5 มกราคม 2562 ต.ทองหลาง อ.ห้วยคต จ.อุทัยธานี
270 วัดคำแม่มุ่ย 22 - 24 กุมภาพันธ์ 2562 ต.โนนสว่าง อ.กุดข้าวปุ้น จ.อุบลราชธานี
271 วัดโนนสวาง 2 - 4 มกราคม 2562 ต.ท่าเมือง อ.ดอนมดเเดง จ.อุบลราชธานี
272 วัดนามนใต้ 16 - 18 พฤศจิกายน 2561 ต.ตาลสุม อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี
273 วัดห้วยหมากน้อย 18 - 20 มกราคม 2562 ต.คำไหล อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี
274 วัดบ้านหนองไผ่ 7 - 8 กุมภาพันธ์ 2562 ต.สงยาง อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี
275 วัดโนนหล่อง 4 - 6 มกราคม 2562 ต.ค้อน้อย อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี
276 วัดศรีอินทราอตุลา 7 กรกฎาคม 2562 Copthorne Bank, Copthorne Crawley, RH10 3JD U.K.
ขอบคุณที่มา   
http://www.pidthong.com